top of page

Introduction to Software Defined Networking (SDN)


สำหรับเครือข่ายแบบเดิม(traditional networking)หากมีการสร้าง Virtual Machines ขึ้นมาใหม่ ผู้ดูแลเครือข่ายก็จะมีขั้นตอนในการทำงานหรือตั้งค่าเพิ่มหลายขั้นตอน และหลายอุปกรณ์ดังนี้

1. สร้าง Virtual Machines ใหม่

2. สร้าง VLAN, กำหนด Port Access, Allow VLAN

3. กำหนด Subnet, IP Address, ตั้งค่า Root bridge (STP), VRRP หรือ HSRP, Routing

4. ตั้งค่า Firewall เพื่อ Permit Subnet ใหม่

5. ตั้งค่า Routing เพื่อประกาศ Subnet ใหม่ออกไป

หากยิ่งเป็นระบบ Network ขนาดใหญ่ กูจะมีความยุ่งยาก ใช้เวลานาน และมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย

หากมีการนำ SDN เข้ามาการตั้งค่าหลายๆอุปกรณ์ก็มาถูกตั้งค่าที่ SDN Controller (SDN = Software Defined Networking ) SDN หรือ Software-defined network เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะสะดวกให้กับองค์กรในการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าของอุปกรณ์จากเดิมที่เคยตั้งค่าผ่าน CLI (Command Line Interface) หรือ วิธีอื่นๆเข้าไปโดยตรงที่อุปกรณ์ มาเป็นวิธีโดยการใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยทำให้มีความง่ายและสะดวก ยืดหยุ่นมากขึ้น


เมื่อศึกษาเรื่อง SDN ก็จะต้องศึกษาเรื่อง Control Plane และ Data Plane เพิ่ม เพราะเมื่อก่อนทั้ง Control Plane และ Data Plane จะถูกกระจายอยู่ตามตัวอุปกรณ์ Router, Switch หรือ อื่นๆ แต่สำหรับการทำงานของ SDN จะเป็นในลักษณะ Central controller for the control plane ซึ่งจะเอาการทำงานในส่วนของ Control Plane มาอยู่บนตัว SDN Controller แทน

Traditional Network หรือ Network แบบเดิมจะมีการทำงานแบบ Distributed Model สำหรับ Control plane เช่น ARP, STP, OSPF, EIGRP หรือ อื่นๆ ก็จะทำงานแยกกันในแต่ละอุปกรณ์ สำหรับการทำงานของ SDN จะเป็นในลักษณะ Central controller for the control plane ซึ่งการทำงานในส่วนของ Control Plane จะอยู่บนตัว SDN Controller แทน ซึ่ง SDN Controller อาจจะอยู่ในรูปแบบ Hardware หรือ Virtual Machine ก็ได้ อุปกรณ์ Switch ในภาพก็จะทำงานเฉพาะในส่วนของ Data Plane


โดย Control Plane : จะใช้สำหรับแลกเปลี่ยน Routing Information โดย Routing protocol ซึ่งอาจจะเป็น OSPF, EIGRP หรือ อาจจะเป็น Static Route เพื่อสร้าง Routing Table ขึ้นมา และ ARP Table ก็อยู่ในส่วนของ Control Plane เช่นกัน


ส่วน Data Plane : จะใช้สำหรับ Forwarding Packet ซึ่งการทำงานของ FIB, Adjacency table, ACL, QoS อื่นๆ ก็อยู่ในส่วนของ Data Plane

ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page