top of page

IPv4 Static Route

IPv4 Static Route

Static Route หรือการตั้งค่าเพื่อให้แต่ละเครือข่าย Network แต่ละวง สามารถสื่อสารด้วยกันได้ โดยที่ Admin หรือผู้ดูแลระบบจะต้องทำการ Config หรือระบุเอง เพื่อเป็นการบอกให้ Router รู้จักกับ Network ปลายทางที่ต้องการ ตัวอย่างตามรูปที่ได้แสดงด้านล่างนั้นมี Network ทั้งหมดอยู่ 5 Network คือ



- 10.0.12.0/30 [Subnet Mask 255.255.255.252] Link ระหว่าง ROUTER-1 กับ ROUTER-2

- 10.0.13.0/30 [Subnet Mask 255.255.255.252] Link ระหว่าง ROUTER-1 กับ ROUTER-3

- 192.168.1.0/24 [Subnet Mask 255.255.255.0] LAN ของ ROUTER-1

- 192.168.2.0/24 [Subnet Mask 255.255.255.0] LAN ของ ROUTER-2

- 192.168.3.0/24 [Subnet Mask 255.255.255.0] LAN ของ ROUTER-3

จะเห็นได้ว่าแต่ละ Router ได้กำหนด IP บน Interface เพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อกับ Router ตัวอื่นๆ หรือใช้เป็น Gateway ให้กับเครือข่ายภายในหรือ LAN ตัวอย่างเช่น ROUTER-1 มี

- Interface Eth0/2 IP Address 10.0.12.1/30 คือ Link ที่เชื่อมต่อไป ROUTER-2

- Interface Eth0/3 IP Address 10.0.13.1/30 คือ Link ที่เชื่อมต่อไป ROUTER-3

- Interface Eth 0/0 IP Address 192.168.1.1/24 คือ Gateway ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายภายใน หรือ LAN ของ ROUTER-1

ถ้าหากใช้คำสั่ง “show ip route” บน ROUTER-1 ก็จะเห็นว่ามี IP Network และ Subnet Mask ของ ทั้ง 3 Interface อยู่ใน Routing Table ด้วยเช่นกัน ซึ่งเรียกว่า “Connected Route” และข้อสังเกตก็คือมีอักษร “C” ที่แสดงว่าเป็น Connected Route ตามรูปที่ได้แสดงด้านล่าง




ผลจากการใช้คำสั่ง “show ip route” จะเห็นได้ว่า Router จะรู้จักเฉพาะ Network ที่เชื่อมต่อกับตัวมันเองเท่านั้น ยังไม่รู้จัก Network วงอื่นๆ จาก ROUTER-1 จะเห็นได้ว่ายังไม่รู้จัก Network ที่เป็น LAN ของROUTER-2 และ ROUTER-3 ดังนั้น Admin จะต้องทำการตั้งค่า Static Route บน ROUTER-1 เพื่อเป็นการบอกให้ ROUTER-1 ทราบว่าถ้าหากจะไปยัง Network 192.168.2.0/24 ซึ่งเป็น LAN ของ ROUTER-2 และ 192.168.3.0/24 ซึ่งเป็น LAN ของ ROUTER-3 จะต้องไปทางไหน ส่ง Packet ออกไปทางใด โดยรูปแบบคำสั่งหรือ Command Syntax ในการ Config Static Route และตัวอย่างการ Config ได้แสดงตามรูปด้านล่าง


ตัวอย่างการ Config Static Route บน ROUTER-1 เพื่อให้รู้จัก Network วง 192.168.2.0/24 ซึ่งเป็น LAN ของ ROUTER-2



ตัวอย่างการ Config Static Route บน ROUTER-1 เพื่อให้รู้จัก Network วง 192.168.3.0/24 ซึ่งเป็น LAN ของ ROUTER-3


หลังจากการ Config บน ROUTER-1 แล้ว ทำการใช้คำสั่ง “show ip route” จะเห็นได้ว่า ROUTER-1 ได้รู้จัก Network วง 192.168.2.0/24 และ 192.168.3.0/24 แล้ว และมีตัวอักษร “S” แสดงว่าเป็น Route แบบ Static ซึ่ง Admin ได้เป็นผู้กำหนดนั่นเอง



ในทางกลับกันนั้น Admin ก็ต้องทำการ Config Static Route บน ROUTER-2 และ ROUTER-3 ด้วยเช่นกัน เพื่อให้รู้จัก Network LAN ของ ROUTER-1 หรือ Network วงอื่นๆ หรืออาจจะมองว่าต้องทำการ Config ทั้งขาไปและขากลับนั่นเอง ยกตัวอย่างจาก ROUTER-2 จะเห็นได้ว่า ROUTER-2 ยังไม่รู้จัก Network 192.168.1.0/24, 192.168.3.0/24 และ 10.0.13.0/30




ทำการตั้งค่า Static Route บน ROUTER-2



หลังจากการตั้งค่าแล้ว ตรวจสอบ Routing Table ด้วยการใช้คำสั่ง “show ip route” บน ROUTER-2



ทำการทดสอบ Ping ไปยัง LAN ของ ROUTER-2 จาก ROUTER-1



ทั้งนี้ ROUTER-3 ก็ต้องทำการตั้งค่า Static Route ให้ครบด้วยเช่นกัน จึงจะสามารถสื่อสารกับ Network ของ LAN ROUTER-1, LAN ROUTER-2 และ Link ที่เชื่อมต่อระหว่าง ROUTER-1 และ ROUTER-2 ได้

ผลจากการ show ip route จะเห็นได้ว่า ถ้าหากมีการตั้งค่าแบบ Static Route จะมีตัวอักษร “S” อยู่ด้านหน้าของ Destination Network ทั้งนี้ค่า AD [Administrative Distance] ของ Static มีค่าเท่ากับ 1 และค่า Metric/Cost มีค่าเท่ากับ 0



ดู 171 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page