top of page

VLSM (Variable Length Subnet Mask )




VLSM หรือ Variable Length Subnet Mask เป็นการทำ Subnetting รูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการจัดสรร IP Address เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น แผนก Sale มีต้องการใช้ IP Address จำนวน 60 เบอร์ แต่ถ้าทำการจัดสรร IP ที่เป็น 1 Class C หรือ /24 ซึ่งมี IP ทั้งหมด 254 เบอร์ ให้กับแผนก Sale ไป ดูแล้วก็ค่อนข้างที่จะเกินความจำเป็น อีก 1 ตัวอย่างที่พบเจอได้บ่อย เช่น ในระหว่างการติดตั้งทีมติดตั้งได้ขอ IP Address เพื่อมาตั้งค่าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ทางทีมติดตั้งอาจจะได้รับ IP 1 ชุด ที่เป็น /16, /24 หรืออื่นๆ มาจากทางลูกค้า ดังนั้นทีมติดตั้งก็ต้องมาออกแบบว่า ระบบงานนี้ใช้ IP ไปเท่าไร (บางระบบอาจจะแค่ 2-3 IP) เหลือใช้เท่าไหร่ IP ที่เหลือ เหลือ IP อะไรบ้างแล้วจะกำหนดต่อให้กับระบบอื่นอย่างไร โดยรวมการทำ VLSM ก็คือการจัดการ IP Address ให้เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้งาน



จากรูปตัวอย่างด้านบน ก่อนที่จะทำ VLSM ต้องทราบถึงความต้องการใช้จำนวน IP Address หรือทราบจำนวน Network ที่ต้องการใช้งานก่อนเป็นอับดับแรก จากภาพจำนวนของผู้ใช้งาน/อุปกรณ์ ต้องการ IP ตามจำนวนแตกต่างกันไป เช่น

  • สาขาที่ 1 (B1) ต้องการ IP 23 เบอร์

  • สาขาที่ 2 (B2) ต้องการ IP 7 เบอร์

  • สาขาที่ 3 (B3) ต้องการ IP 90 เบอร์

  • WAN ที่เชื่อมต่อจาก HQ ไปยังสาขาแต่ละสาขา ต้องการ IP 2 เบอร์ รวม 6 เบอร์

  • รวม IP Address ทั้งหมด 126 เบอร์

ในลำดับถัดไปให้กำหนดกำหนด IP ให้ครอบคลุมการใช้งานทั้ง 126 เบอร์ 6 Network โดยในตัวอย่างมี IP Address ที่ได้รับมา 192.168.10.0/24 ซึ่งมี IP ทั้งหมด 256 เบอร์


หลังจากรู้จำนวน IP ที่ต้องใช้งานแล้วขั้นต่อไปก็แบ่ง IP Address ที่ได้มาให้ครบทั้ง 6 Network ที่ต้องการ โดยให้ทำการแบ่ง IP ให้กับ Network ที่มีนวน Host เยอะที่สุดก่อน (เรียงจากจากจำนวน Host มากไปหาน้อย) ในที่นี้ สาขาที่ 3 ต้องการ 90 เบอร์


ตารางด้านบน Network ที่รองรับการ Host จำนวน 90 Host คือ 192.168.10.0/25 จะมี IP ที่ใช้งานและ Assign ให้กับอุปกรณ์ได้ 126 IP (มี 128 IP แต่ตัด Network IP และ Broadcast IP ออกไป ) หรือจะเขียนเพื่อให้ดูเข้าใจง่ายๆ ตามตัวอย่างด้านล่าง


  • Network สำหรับสาขาที่ 3 (B3)192.168.10.0/25

  • Network IP 192.168.10.0

  • Broadcast IP 192.168.10.127

  • IP Range 192.168.10.1-126

  • Subnet Mask 255.255.255.128 (/25)


หลังจาก Assign ให้กับสาขาที่ 3 แล้ว จะเห็นว่าสาขาที่ 1 มีจำนวน Host ที่ต้องการใช้ IP Address 23 เบอร์ ซึ่งรองลงมาจากสาขาที่ 3


จากตารางด้านบนจะเห็นได้ว่า /27 นั้นเพียงพอกับจำนวน Host 32 Host ซึ่ง IP Address 192.168.10.0 -127 ได้ถูก Assign ให้กับสาขาที่ 3 แล้ว สำหรับสาขาที่ 1 ให้เริ่มต้น IP Address 192.168.10.128 (ต่อจากสาขาที่ 3) ได้เลย โดยสามารถเขียนเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ดังนี้


  • Network สำหรับ สาขาที่ 1 (B1)

  • Network IP 192.168.10.128

  • Broadcast IP 192.168.10.159

  • IP Range 192.168.10.129-158

  • Subnet Mask 255.255.255.224 (/27)

  • สำหรับ Network ของสาขาที่ 2 และ WAN Link ให้ทำการแบ่ง IP โดยวิธีนี้เช่นกัน


สำหรับสาขาที่ 2 และ และ WAN Link หากทุกท่านไปลองฝึกทำแล้วก็จะได้คำตอบประมาณนี้ ลองไปฝึกกันดูนะครับ หากมีข้อสอบถามเพิ่มเติม ก็สามารถพิมพ์สอบถามเข้ามาได้ในช่องด้านล่างครับ

  • สาขา B1 = 192.168.10.128/2

  • สาขา B2 = 192.168.10.160/28

  • สาขา B3 = 192.168.10.0/25

  • WAN LINK ของสาขา B1 = 192.168.10.176/30

  • WAN LINK ของสาขา B2 = 192.168.10.180/30

  • WAN LINK ของสาขา B3 = 192.168.10.184/30


ก็สรุปได้ว่าประโยชน์หลักๆของการทำ VLSM จะช่วยให้ประหยัด IP Address และสามารถจัดสรร IP Address ตามความสอดคล้องต่อความต้องการการใช้งานจริง



บทความโดย AJ'JO (Puttipon Srithongmai)

ดู 3,895 ครั้ง1 ความคิดเห็น

1件のコメント

5つ星のうち0と評価されています。
まだ評価がありません

評価を追加

ขอบพระคุณมากครับ ในเนื้อหา ทำให้ผมเข้าใจมากขึ้น


いいね!
bottom of page