top of page

Wireless LAN

Wireless LAN

เครือข่ายไร้สาย หรือ Wireless LAN (WLAN) ในปัจจุบันได้รับความนิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อ โดยที่ไม่ต้องใช้สาย UTP เชื่อมต่อเข้ากับ PC หรือ Notebook ของเรา หรือสามารถทำงานในบริเวณใดก็ได้ถ้าหากมีสัญญาณ Wi-Fi ไปถึง

บนเครือข่ายการใช้งาน Wireless LAN Network นั้น ได้มีมาตรฐานที่รองรับเช่นกัน นั่นก็คือ IEEE 802.11 โดยมาตรฐานแต่ละแบบจะบ่งบอกความเร็วในการส่งข้อมูล ความถี่ที่ใช้งาน ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) รวมถึงรูปแบบการส่งคลื่นวิทยุ



Wireless LAN 802.11 Topology

สำหรับ Topology หรือรูปแบบการเชื่อมต่อของ Wireless Network ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. IBSS [Independent Basic Service Set] ในรูปแบบนี้จะเป็นการเชื่อมต่อ PC หรือ Laptop เข้าด้วยกันผ่าน Wireless โดยตรงซึ่งไม่ใช้ Access Point หรืออาจจะเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า Ad-hoc



2. Infrastructure Mode

เป็นการระบุหรือกำหนดรูปแบบของ Access Point ที่ให้บริการหรือปล่อยสัญญาณให้กับ Wireless Client เช่น Laptop, Tablet, โทรศัพท์มือถือ ซึ่งก็มีแยกย่อยออกไปเป็นดังนี้

2.1 Basic Service Set (BSS)

ในรูปแบบนี้จะเห็นได้ว่า Access Point ที่ทำการปล่อยสัญญาณให้กับ Wireless Client นั้น ไม่มีการเชื่อมต่อไปยัง Network อื่นๆ ซึ่งมีลักษณะเป็น Closed Group



2.2 Distribute System [DS]

สำหรับการเชื่อมต่อในแบบ Distribute System จะเห็นได้ว่ามีความคล้ายคลึงกันกับแบบ BSS แต่จะมีข้อแตกต่างตรงที่ Access Point ได้เชื่อมต่อเข้ากับ Switch เพื่อเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอื่นๆ ด้วย ตามตัวอย่างรูปด้านล่าง



2.3 Extended Service Set [ESS]

รูปแบบนี้มีความคล้ายคลึงกันกับแบบ BSS แต่สิ่งที่แตกต่างกันออกไปคือจำนวน Access Point ที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้สัญญาณคลอบคลุมขยายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ยังรองรับการ Roaming (คือการใช้งาน Wireless Network โดยที่ไม่ต้องมีการเชื่อมต่อใหม่ แม้ว่ามีการเคลื่อนที่ออกจาก Access Point หนึ่ง ไปยัง Access Point ตัวอื่น)



2.4 Mesh Basic Service Set [MBSS]

การเชื่อมต่อแบบนี้ ได้นำมาถูกใช้ในกรณีที่ไม่สามารถเชื่อมต่อสาย UTP เข้ากับ Access Point ได้ โดย Access Point จะทำการปล่อยสัญญาณวิทยุออกมาเพื่อเชื่อมต่อระหว่าง Access Point ด้วยกันเอง และเพื่อรองรับการใช้งานของ Wireless Client ในการเชื่อมต่อรูปแบบนี้จะต้องมี Access Point อย่างน้อย 1 เชื่อมต่อเข้ากับ Switch เพื่อเป็น Root AP ตามรูปแสดงด้านล่าง



3. Access Point Mode [AP Mode]

3.1 Repeater

Repeater นั้น จะทำการขยายขอบเขตของการส่งสัญญาณวิทยุทำให้ส่งสัญญาณได้ไกลขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น และตำแหน่งที่ติดตั้ง Repeater นั้น จะต้องอยู่ภายในขอบเขตของสัญญาณที่ Access Point ตามรูปที่ได้แสดงด้านล่าง



3.2 Workgroup Bridge

ถ้าหากมี Client ที่ไม่รองรับการเชื่อมต่อแบบ Wireless แต่ต้องทำงานภายใต้ Wireless Network จะสามารถใช้งานได้โดยผ่าน Access Point ที่ทำหน้าที่เป็น Workgroup Bridge [WGB] โดยที่ Client ต้องเชื่อมต่อเข้ากับ WGB ผ่านสาย UTP แล้ว WGB จะทำการส่งไปยัง Access Point อีกทอดหนึ่ง ตามรูปที่ได้แสดงด้านล่าง



3.3 Outdoor Bridge

การเชื่อมต่อรูปแบบนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานเป็น Link การสื่อสารระหว่างอาคาร โดยจะให้ LAN Network ของแต่ละอาคารสามารถสื่อสารด้วยกันได้ ตามรูปที่ได้แสดงด้านล่าง



ทั้งนี้รูปแบบการการใช้งาน Access Point ของ Cisco นั้นก็ได้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ หลักๆ คือ

1. Autonomous Access Point โดยในรูปแบบนี้จะไม่มีตัวควบคุมหรือ Wireless LAN Controller [WLC] เข้ามาช่วยบริหารจัดการ Access Point จากส่วนกลาง ถ้าหากต้องการเพิ่ม SSID, กำหนดรูปแบบ Authentication จะต้องทำการตั้งค่าบน Access Point แต่ละตัว ซึ่ง Access Point ในแบบนี้ เหมาะสำหรับ Network ขนาดเล็ก ที่มีจำนวน Access Point จำนวนน้อย

2. Light Weight Access Point หรือ LWAP Access Point ในรูปแบบนี้จะทำงานภายใต้การควบคุมของ WLC เป็นตัวบริหารจากส่วนกลาง ซึ่งการตั้งค่าต่างๆ เช่น SSID, รูปแบบการ Authentication, การบริหารจัดการช่องสัญญาณ จะแก้ไขบน WLC แล้วค่าต่างๆ ก็จะถูกส่งไปยัง Access Point ให้อัตโนมัติ ในรูปแบบนี้เหมาะสำหรับ Network ที่มีขนาดกลางถึงใหญ่

การเชื่อมต่อระหว่าง Access Point และ WLC ใช้ Protocol ที่เรียกว่า Control and Provisioning of Wireless Access Points หรือ CAPWAP ซึ่ง CAPWAP ก็จะมี 2 แบบด้วยกัน ดังรูปด้านล่าง

- CAPWAP Control ใช้ UDP Port 5246 เพื่อทำการควบคุมหรือบริหารจัดการ Access Point

- CAPWAP Data ใช้ UDP Port 5247 ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากผู้ใช้งานผ่าน Wireless LAN Network


รูปแบบการติดตั้ง Wireless LAN Controller [WLC Deployment]

1.Unified Deployments หรือ Centralized Deployments

ในการติดตั้งรูปแบบนี้ จะทำการติดตั้ง WLC ที่เป็น Hardware Appliance ไว้ที่ส่วนกลาง เช่นอาจจะติดตั้งที่ Data Center หรือเชื่อมต่อเข้ากับ Core Network ขององค์กร




2.Cloud-base Deployments

จะทำการติดตั้ง WLC ในรูปแบบของ Virtual Machine ไว้บน Cloud ซึ่งอาจจะเป็น Public Cloud หรือ Private Cloud ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ติดตั้ง Virtual Wireless LAN Controller ลงบน Hypervisor ที่เป็นระบบปฎิบัติการ ESXI



3.Embedded Deployments

การเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ได้ใช้ Software หรือ Package ของ WLC ที่ถูกติดตั้งบน Switch ซึ่ง Switch ตัวนั้นก็จะทำหน้าที่เป็น WLC ไปด้วย




4.Mobility Express Deployments

การติดตั้งรูปแบบนี้จะมีความคล้ายคลึงกับแบบ Embedded Deployments แต่จะใช้ Access Point ที่มีความสามารถเป็น WLC ในตัว หรือการติดตั้งแบบนี้ใช้ Access Point เป็น WLC นั่นเอง



Summary of WLC Deployment Models






ดู 241 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page