top of page

การทำงานของ Router (Routing table)


Routing คือ กลไกในการเลือกเส้นทางของอุปกรณ์ที่ทำงานระดับ Layer 3 (เช่น Router, L3 Switch) เพื่อใช้ในการส่งข้อมูล Packet จากต้นทางไปยังปลายทาง


สำหรับท่านที่ศึกษา Network ใหม่ๆ ให้ลองเปรียบเทียบอย่างนี้ครับ อุปกรณ์ Layer 3 : Router, L3 Switch (เปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์), Routed Protocol : IP (เปรียบเสมือนที่อยู่), Routing Protocol : RIP, OSPF, ISIS, EIGRP, BGP (เปรียมเสมือนคนที่สอนให้ จนท.รู้จักเส้นทาง)

Routing Table เป็นตารางที่ใช้เพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดที่จะไปถึงปลายทางนั้นๆได้ วิธีที่ทำให้เกิด Routing Table ได้ เพื่อให้ Router ใช้ในการส่งข้อมูล โดยหลักๆแล้วจะมีวิธีดังนี้ครับ ถ้าหากเป็น Network ID ของ Router เองก็จะเกิด Routing Table ได้ โดยมีสัญลักษณ์เป็นตัว "C" ซึ่งจะเรียกว่า Connected Route, ถ้าเป็นวิธีที่ผู้ใช้ หรือ Admin หรือผู้ดูแลระบบสร้างเส้นทางด้วยตนเองลงไปยัง Router เราจะเรียกว่า Static Route และถ้าหากผู้ใช้หรือ Admin สั่ง RUN Routing Protocol (Dynamic Route) ก็จะมี Routing Table เกิดขึ้นได้เช่นกัน ตัวอย่าง Routing Protocol เช่น RIP, OSPF, ISIS, EIGRP, BGP เป็นต้น

สรุปก็คือวิธีที่ทำให้เกิด Routing Table ได้มีหลายวิธีที่อธิบายข้างต้น แต่โดยหลักๆแล้วจะมี 2 วิธี ผู้ใช้สร้างเส้นทางด้วยตนเอง (Static Route) และผู้ใช้สั่ง RUN Routing Protocol (Dynamic Route)


ถ้าเป็น Static Route ทาง Network Admin เป็นผู้กำหนดเส้นทางเอง เหมาะกับ Network ขนาดเล็ก และประหยัด Memory และ CPU ของ Router


แต่ถ้าหากเป็นกลุ่มของ Dynamic Route ตัว Router จะเป็นตัวเลือกเส้นทางเอง แล้วแต่ Routing Protocol ที่นำมาใช้ ซึ่งจะเหมาะกับ Network ขนาดใหญ่ และใช้ Memory และ CPU ของ Router สูงกว่า เส้นทางไม่ได้ถูกกำหนดตายตัว แต่ขึ้นอยู่กับการเลือกเส้นทางของ Router ตาม Routing Protocol นั้นๆ


หากต้องการแสดงข้อมูลในตาราง Routing Table นั้นๆ สามารถใช้คำสั่ง "show ip route"


ดู 300 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page