top of page

ทำความรู้จักกับสายสัญญา UTP & Fiber Optic


UTP (Unshielded Twisted Pair)

เป็นสายสัญญาณที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน จะมีลักษณ์เป็นสายสัญญาณที่ไม่มี่ชีลด์ห่อหุ้ม ภายในเป็นเส้นตีเกลียวกันเป็นคู่ๆ ทั้งหมด 4 คู่ (8 เส้น)


ชนิดของสาย UTP จะรองรับความเร็วแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของ Category ซึ่งมีอยู่หลายประเภท เช่น

  • Category 3 ( CAT-3) ความเร็ว 10 Mbps (Ethernet)

  • Category 5 ( CAT-5) ความเร็ว 100 Mbps (Fast Ethernet)

  • Category 5e ( CAT-5e) ความเร็ว 1000 Mbps (Gigabit Ethernet)

  • Category 6 ( CAT-6) ความเร็ว 1000 Mbps (10 Gigabit Ethernet ที่ระยะสาย 55 เมตร)

  • Category 6a ( CAT-6a) ความเร็ว 10 Gigabit Ethernet

  • Category 7 ( CAT-7) ความเร็ว 10 Gigabit Ethernet

การเข้าสาย UTP ปกติจะมี 2 แบบ

1.แบบสายตรง (Straight-Through)-ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างประเภทกัน

2.แบบสายไขว้ (Crossover)-ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ประเภทเดียวกัน (การเชื่อมต่ออุปกรณ์ประเภทเดียวกันในปัจจุบันสามารถใช้การเชื่อมต่อ โดยใช้สาย UTP แบบสายตรง)

ภาพตัวอย่างการเข้าสาย UTP แบบสายตรง(Straight-Through) และแบบสายไขว้ (Crossover)


สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)

จะเป็นสายที่ส่งสัญญาณด้วยแสง ข้อดีคือสามารถส่งได้ระยะไกลๆ ความเร็วสูงและไม่มีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนเหมือนสาย UTP

Fiber Optic แบบ Single mode จะเหมาะกับการเชื่อมต่อที่ระยะไกลๆ ส่วน Multi mode จะเหมาะกับการเชื่อมต่อในระยะใกล้ๆ


ส่วนประกอบของใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) จะมีดังต่อไปนี้

  • แคลดดิ้ง (Cladding) เป็นแก้วเช่นกันทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนกลับเพื่อให้แสงไม่สามารถผ่านออกจาก Core ของใยแก้วได้

  • คอร์ (Core) เป็นแก้วทำหน้าที่เป็นแกนในแก้วมีหน้าที่ส่งผ่านสัญญาณแสง

  • Coating เป็นชั้นพลาสติกใสที่เคลือบใยแก้วนำแสงเพื่อช่วยป้องกันความชื้น รอยขีดข่วน และการกระแทกของใยแก้วนำแสง

  • Loose Tube (ท่อหลวม) มีลักษณะเป็นหลอดหลวมๆ ที่มีความทนทานแข็งแรง สามารถป้องกันการกระแทกและแรงดึงต่อ Optical Fibers

  • Central Strength Member เป็นแกนกลางของสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่ทำจากแท่งโลหะหรือฉนวนที่มีความทนทานแข็งแรง ใช้รับแรงดึงที่เกิดจากน้ำหนักของสายเคเบิล หรือแรงกระทำจากภายนอก,

  • Jacket (Sheath) เปลือกนอกสุดของสายเคเบิลใยแก้วนำแสง มีทั้งแบบเปลือกนอกชั้นเดียว (Single Jacket) และแบบเปลือกนอกสองชั้น (Double Jacket) ประกอบด้วย Outer Jacket และ Inner Jacket ซึ่งสามารถป้องกันแรงกระแทกจากภายนอกได้ดีกว่า


ตัวอย่างการเชื่อมต่อ Fiber Optic เข้ากับอุปกรณ์ Network หรือ อุปกรณ์ Switch จะต้องมีอุปกรณ์ SFP หรือ Small Form-Factor (SFP) ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณระหว่างสัญญาณแสงและสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งหัว Connector ของ Fiber optic ตามภาพจะเรียกว่าหัวแบบ LC หรือ Little Connector

ดู 2,369 ครั้ง2 ความคิดเห็น

2 commentaires

Noté 0 étoile sur 5.
Pas encore de note

Ajouter une note
AMIL
AMIL
18 janv. 2021

อาจารย์ค่ะหนูมีคำถามเกี่ยวกับ Fiber กรณีที่ต้องการ ลาก LAN ไปมากกว่า 100 เมตร เราสามารถ ใช้ Media Converter และใช้ สาย Fiber แทนสามารถทำได้ไหม ค่ะแล้ว มันรองรับการทำ LACP ด้วยไหมค่ะ

J'aime
Phornchai (Aj'A)
Phornchai (Aj'A)
03 mars 2021
En réponse à

สามารถ ใช้ Media Converter และใช้ สาย Fiber แทนได้ครับ และก็รองรับการทำ LACP ได้ แต่มีข้อควรระวังและข้อจำกัดในการใช้ Media Convert ที่เจอบ่อยๆคือเรื่อง Speed ที่อาจจะทำให้ความเร็วลดลง และ Media Convert บางยี่ห้ออาจจะไม่ค่อยได้มาตรฐานเสียบ่อยก็มีเยอะครับ

J'aime
bottom of page