top of page

มาทำความรู้จัก คำสั่ง Ping และ Traceroute


คำสั่ง Ping

เราใช้คำสั่ง ping เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อจากเครื่อง Computer หรือ อาจจะเป็นอุปกรณ์ Network อื่นๆของเราไปยังอุปกรณ์ปลายทางกันอยู่บ่อยๆ เพื่อให้ทราบว่าปลายทางยังอยู่ปกติหรือไม่ เช่น ping ไปหา www.google.com เครื่อง Computer หรือ Router ของเราก็จะส่ง icmp echo request ซึ่งเป็น packet ที่มีขนาดเล็กๆไปยัง www.google.com หาก packet ไปถึงปลายทาง google ก็จะตอบ icmp echo reply กลับมาที่อุปกรณ์ของเรา เราก็จะทราบว่า www.google.com ยังอยู่มีการตอบสนองกลับมาหรือไม่ สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows วิธีการ ping เราก็สามารถเปิด “Command Prompt” จาก Windows ของเรา แล้วก็เริ่มพิมพ์คำสั่ง ping เพื่อทดสอบกันได้เลย

เมื่อทำการ ping แล้วมีการตอบกลับมาของข้อมูล เราจะเห็นได้ว่าตอบกลับมาจากปลายทาง IP address อะไร ขนาดข้อมูลเท่าไหร่กี่ bytes เวลาในการไปและตอบกลับมาใช้เวลาไปเท่าไหร่ รวมถึงจะเห็นค่า ttl ด้วย (ค่า ttl ไม่ขอกล่าวถึงในบทความนี้)


ลักษณะการใช้คำสั่ง ping ก็จะพิมพ์ว่า ping แล้วตามด้วย ip หรือ url ปลายทางที่เราต้องการทดสอบ ยกตัวอย่าง ping 8.8.8.8 เป็นต้น และเรายังสามาร ping แบบใส่ Option เพิ่มเติมได้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างการใช้คำสั่ง ping บน Windows บาง Option นะครับ เช่น


ping -t ซึ่งการ ping จาก Computer ที่เป็น Windows ปกติจะมีการส่ง icmp echo request ไปหาปลายทางโดย Default 4 packets แต่ในบางครั้ง เช่น เราอยากส่งออกไปหา dns ของ google(8.8.8.8)ยาวๆไปเลย เพื่อดูว่ามีบาง packet หายไปบ้างหรือเปล่าในกรณีส่งเยอะๆก็สามารถ ping แบบใส่ option "-t" ได้ ตัวอย่างเช่นย ping 8.8.8.8 -t


ping -l เป็นการระบุขนาดของ Packet icmp ที่จะส่งออกไป ถ้าหากเราไม่ได้กำหนดก็จะมีขนาด 32 bytes เช่นหากเราต้องการจะ ping ไปหา dns ของ google(8.8.8.8) โดยมีขนาด size สัก 1000 bytes ก็ใช้คำสั่งนี้ได้ ping 8.8.8.8 -l 1000


ping -a ในกรณีที่เราทราบหมายเลข IP address ของอุปกรณ์ปลายทาง แต่เราอยากรู้ชื่อของอุปกรณ์ปลายทาง ก็สามารถใช้ ping -a ช่วยได้ ตัวอย่างเช่น เราอยากทราบว่า IP 8.8.8.8 มีชื่อว่าอะไร ก็สามารถใช้คำสั่ง ping ดังนี้ได้ ping -a 8.8.8.8


คำสั่ง Tracert (Trace Route)

คำสั่ง Tracert (Trace Route) จะใช้ทดสอบการเชื่อมต่อแบบ end-to-end โดยมีการแสดงผลแต่ละจุดบน router หรืออุปกรณ์ Layer 3 ขึ้นมาในเส้นทางที่มีข้อมูลวิ่งผ่าน ซึ่งจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์บริเวณจุดที่ระบบ Network มีปัญหาได้เบื้องต้น

ตัวอย่างการ trace route ไปยังปลายทาง yahoo.com เราก็จะเห็นเส้นทางว่าผ่านอุปกรณ์ layer3 อะไรบ้าง จุดที่ 1 จุดที่ 2-3 จนไปถึงจุดที่ N และถึงปลายทางในที่สุด หากข้อมูลที่แสดงไปถึงจุดที่ 3 แล้วไม่มีข้อมูล IP หรือ name อื่นๆแสดงแล้ว ก็จะทำให้เราทราบว่าปัญหาที่ติดต่อปลายทางไม่ได้ น่าจะอยู่ที่บริเวณจุดที่ 3 นั่นเอง

ดู 12,049 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios

Obtuvo 0 de 5 estrellas.
Aún no hay calificaciones

Agrega una calificación
bottom of page